กีฬายอดฮิตใน สหรัฐอเมริกา
เอ็นบีเอ (NBA) ย่อมาจาก National Basketball Association ซึ่งเป็นชื่อของลีกบาสเกตบอลอาชีพในอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีนักกีฬาบาสเก็ตบอลชั้นนำของโลกเล่นอยู่ในเอ็นบีเอนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้มาตรฐานระดับการแข่งขันนั้นถือว่าอยู่ในระดับสูง สัญลักษณ์ประจำเอ็นบีเอทางด้านขวานั้น เป็นภาพเงาของ เจอร์รี เวสต์ ซึ่งเคยเป็นผู้จัดการทั่วไปของทีมเลเกอร์ส และทีมเมมฟิส กริซลีส์
เอ็นบีเอ ก่อตั้งขึ้นที่นครนิวยอร์ก ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1946 ในชื่อ Basketball Association of America (BAA) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น National Basketball Association ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปี ค.ศ. 1949 หลังจากการรวมตัวกับทีมจาก National Basketball League (NBL)
เอ็นบีเอนั้นเป็นลีกกีฬาอาชีพแรก ที่มีโค้ชหลักเป็นคนผิวดำ ในปี ค.ศ. 1966 และก็ยังเป็นลีกแรก ที่มีผู้จัดการทั่วไปเป็นคนผิวดำ ในปี ค.ศ. 1972 นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นลีกแรก ที่มีเจ้าของทีมเป็นคนผิวดำ ในปี ค.ศ. 2002
บุคคลสำคัญในเอ็นบีเอ[แก้]
ประธาน และ คอมมิสชันเนอร์[แก้]
ประธาน (ในอดีต) และคอมมิสชันเนอร์ (ในปัจจุบัน) คือตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในเอ็นบีเอ มีรายนามดังต่อไปนี้
- มอริส โพโดลอฟ ประธาน (ค.ศ. 1946 - 1963)
- วอลเตอร์ เคนเนดี้ ประธาน (ค.ศ. 1963 - ค.ศ. 1967) และ คอมมิสชันเนอร์ (ค.ศ. 1967 - 1975)
- แลร์รี โอ ไบรอัน คอมมิสชันเนอร์ (ค.ศ. 1975 - 1984)
- เดวิด สเติร์น คอมมิสชันเนอร์ (ค.ศ. 1984 - ปัจจุบัน)
นักกีฬา[แก้]
ทีมในเอ็นบีเอ[แก้]
ตอนเริ่มก่อตั้งลีก มีทีมอยู่ทั้งหมด 11 ทีม มีการเพิ่ม ลด และย้ายทีม จนปัจจุบันมีทั้งหมด 30 ทีม ในจำนวนนี้ มีหนึ่งทีมที่อยู่ในประเทศแคนาดา คือ โทรอนโต แร็ปเตอร์ส ที่เหลือ 29 ทีมอยู่กระจายกันในประเทศสหรัฐอเมริกา
นับจนถึงปี พ.ศ. 2557 ทีมที่คว้าแชมป์มากที่สุดคือ บอสตัน เซลติกส์ เป็นแชมป์ทั้งหมด 17 สมัย รองลงมาคือ ลอส แอนเจลิส เลเกอร์ส เป็นแชมป์ 16 สมัย (11 สมัยที่เมืองลอส แอนเจลิส อีก 5 สมัยตอนที่อยู่เมืองมินนีแอโพลิส) อันดับที่สามคือ ชิคาโก บูลส์ แชมป์ 6 สมัย
รายชื่อทีมในปัจจุบัน[แก้]
- แอตแลนตา ฮอกส์ (Atlanta Hawks) (1968-ปัจจุบัน)#
- บอสตัน เซลติกส์ (Boston Celtics) (1946-ปัจจุบัน)
- บรูคลิน เน็ตส์ (Brooklyn Nets) (2012-ปัจจุบัน)#
- ชาล็อต ฮอร์เน็ตส์ (Charlotte Hornets) (2004-ปัจจุบัน)
- ชิคาโก บูลส์ (Chicago Bulls (1966-ปัจจุบัน)
- คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส (Cleveland Cavaliers) (1970-ปัจจุบัน)
- ดัลลัส แมฟริกส์ (Dallas Mavericks) (1980-ปัจจุบัน)
- เดนเวอร์ นักเก็ตส์ (Denver Nuggets) (1967-ปัจจุบัน)##
- ดีทรอยต์ พิสตันส์ (Detroit Pistons) (1957-ปัจจุบัน)#
- โกลเดน สเตท วอริเออร์ส (Golden State Warriors) (1962-ปัจจุบัน)#
- ฮิวสตัน รอกเก็ตส์ (Houston Rockets) (1971-ปัจจุบัน)#
- อินเดียนา เพเซอร์ส (Indiana Pacers) (1967-ปัจจุบัน)##
- ลอส แอนเจลิส คลิปเปอร์ส (Los Angeles Clippers) (1984-ปัจจุบัน)#
- ลอส แอนเจลิส เลเกอร์ส (Los Angeles Lakers) (1960-ปัจจุบัน)#
- เมมฟิส กริซลีส์ (Memphis Grizzlies) (2001-ปัจจุบัน)#
- ไมอามี ฮีต (Miami Heat) (1988-ปัจจุบัน)
- มิลวอล์คกี บักส์ (Milwaukee Bucks) (1968-ปัจจุบัน)
- มินเนโซตา ทิมเบอร์วูลฟ์ส (Minnesota Timberwolves) (1989-ปัจจุบัน)
- นิว ออร์ลีนส์ พิลีแกนส์ (New Orleans Pelicans) (2002-ปัจจุบัน)#
- นิวยอร์ก นิกส์ (New York Knicks) (1946-ปัจจุบัน)
- โอคลาโฮมา ซิตี้ ธันเดอร์ (Oklahoma City Thunder) (2008-ปัจจุบัน)
- ออร์แลนโด แมจิก (Orlando Magic) (1989-ปัจจุบัน)
- ฟิลลาเดลเฟีย เซเวนตี ซิกเซอร์ส (Philadelphia 76ers) (1963-ปัจจุบัน)#
- ฟีนิกส์ ซันส์ (Phoenix Suns) (1968-ปัจจุบัน)
- พอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอร์ส (Portland Trailblazers) (1970-ปัจจุบัน)
- ซาคราเมนโต คิงส์ (Sacramento Kings) (1985-ปัจจุบัน)#
- ซานแอนโตนิโอ สเปอร์ส (San Antonio Spurs) (1973-ปัจจุบัน)###
- โทรอนโต แร็ปเตอร์ส (Toronto Raptors) (1995-ปัจจุบัน)
- ยูทาห์ แจ๊ซ (Utah Jazz) (1979-ปัจจุบัน)#
- วอชิงตัน วิซาร์ดส์ (Washington Wizards (1963-ปัจจุบัน)#
(# - ทีมซึ่งย้ายถิ่นฐานมาจากที่อื่น)
(## - ทีมซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของ American Basketball Association และเข้าร่วม NBA ในปี ค.ศ. 1976)
(### - ทีมซี่งย้ายถิ่นฐานในขณะที่เป็นส่วนหนึ่งของ ABA)
รายชื่อทีมที่ถูกยุบไปแล้ว[แก้]
- แอนเดอสัน แพคเกอร์ส (Anderson Packers) (1949-1950)
- บัลติมอร์ บูลเล็ตส์ (ทีมเดิม) (Baltimore Bullets) (1947-1955: ที่สุดท้ายที่สลายทีม)
- ชิคาโก สแต็กส์ (Chicago Stags) (1946-1950)
- คลีฟแลนด์ รีเบลส์ (Cleveland Rebels) (1946-1947)
- เด็นเวอร์ นักเก็ตส์ (ทีมเดิม) (Denver Nuggets) (1949-1950)
- ดีทรอยต์ ฟัลคอนส์ (Detroit Falcons) (1946-1947)
- อินเดียนาโพลิส เจ็ตส์ (Indianapolis Jets) (1948-1949)
- อินเดียนาโพลิส โอลิมเปียนส์ (Indianapolis Olympians) (1949-1953)
- พิทส์เบิร์ก ไอรอนเมน (Pittsburgh Ironmen) (1946-1947)
- โพรวิเดนซ์ สตีมโรลเลอร์ส (Providence Steamrollers) (1946-1949)
- เซ็นต์หลุยส์ บอมเบอร์ส (St. Louis Bombers) (1946-1950)
- เชบโบยแกน เรดสกินส์ (Sheboygan Redskins) (1949-1950)
- โทรอนโต ฮัสกีส์ (Toronto Huskies) (1946-1947)
- วอชิงตัน แคปปิตอลส์ (Washington Capitols) (1946-1951)
- วอเตอร์ลู ฮอกส์ (Waterloo Hawks) (1949-1950)
- ซีแอตเติล ซูเปอร์โซนิคส์ (Seattle Supersonics) (1967-2008)
การแบ่งกลุ่มการแข่งขันของทีมเอ็นบีเอ[แก้]
ทีมในเอ็นบีเอ จะแบ่งเป็น 2 คอนเฟอเรนซ์ 6 ดิวิชั่น ดังตาราง ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งสายที่เริ่มใช้ในฤดูกาล 2004-05:
ฤดูกาลปกติ[แก้]
แต่ละทีมเริ่มเทรนนิงแคมป์ (training camp) ในเดือนตุลาคม ช่วงนี้ช่วยให้สตาฟโค้ชประเมินผลผู้เล่น โดยเฉพาะผู้เล่นหน้าใหม่ที่จะเล่นในปีแรก ตรวจสอบจุดแข็งและจุดอ่อนของทีม และเตรียมความแข็งแรงของร่างกายผู้เล่นเพื่อให้พร้อมสำหรับฤดูกาลปกติ คัดผู้เล่นในรายชื่อทีม ซึ่งมีได้ 12 คน รวมกับรายชื่อผู้เล่นบาดเจ็บอีก 3 คน ทีมยังสามารถกำหนดผู้เล่นที่มีประสบการณ์น้อยกว่าสองปีไปเล่นในดี-ลีก (NBA Development League หรือ D-League) เพื่อพัฒนาฝีมือก่อน
หลังจากเข้าแคมป์ จะมีการแข่งนัดกระชับมิตร (exhibition game) จำนวนหนึ่ง แล้วต่อด้วยฤดูกาลปกติซึ่งเริ่มในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน
ในฤดูกาลปกติ แต่ละทีมจะแข่งทั้งหมด 82 เกม แบ่งเป็นเกมเหย้าและเกมเยือนอย่างละครึ่ง ทีมจะพบกับทีมอื่นในดิวิชันเดียวกัน 4 ครั้ง พบกับทีมในดิวิชันอื่นแต่ในคอนเฟอร์เรนซ์เดียวกัน 3 ถึง 4 ครั้ง และทีมในอีกคอนเฟอร์เรนซ์ 2 ครั้ง ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ลีกในอเมริกาเหนือที่มีการแข่งแบบพบกันหมด และมีการแข่งแบบเหย้าและเยือนกับทีมอื่นอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ฤดูกาลปกติจะจบประมาณปลายเดือนเมษายน
ในเดือนกุมภาพันธ์ จะหยุดการเล่นฤดูกาลปกติชั่วคราว เพื่อจัดเกมรวมดาราเอ็นบีเอและกิจกรรมอื่นๆ เช่นเกมรูกี (Rookie game) ซึ่งเป็นการพบกันระหว่างผู้เล่นปีแรกที่เก่งที่สุดแข่งกับผู้เล่นปีที่สองที่เก่งที่สุด การแข่งขันชู้ตสามคะแนน การแข่งสแลมดังก์เป็นต้น
ในระหว่างฤดูกาลปกติ ทีมสามารถเทรดผู้เล่นได้จนถึงวันสุดท้าย ซึ่งกำหนดไว้หลังเกมรวมดาราไม่นาน หลังจากวันนั้นทีมไม่สามารถเทรดได้ แต่ยังสามารถเซ็นสัญญาหรือปล่อยตัวผู้เล่นได้
รางวัล[แก้]
เมื่อจบฤดูกาลปกติ จะมีการโหวตและให้รางวัลได้แก่ รางวัลผู้เล่นทรงคุณค่า (Most Valuable Player Award), รางวัลผู้เล่นตัวสำรองแห่งปี (Sixth Man of the Year Award), รางวัลผู้เล่นหน้าใหม่แห่งปี (Rookie of the Year Award), รางวัลผู้เล่นเกมรับแห่งปี (Defensive Player of the Year Award), รางวัลผู้เล่นที่พัฒนามากที่สุด (Most Improved Player Award), รางวัลโค้ชแห่งปี (Couch of the Year Award)
นอกจากรางวัลรายบุคคลแล้ว ยังมีการจัดทีมโดยนำเอาผู้เล่นแต่ละตำแหน่งมารวมกัน ได้แก่ ทีมออล-เอ็นบีเอ (All-NBA), ทีมออล-ดีเฟนซีฟ (All-Defensive), และทีมออล-รูกี (All-Rookie) โดยทีมออล-เอ็นบีเอ มีทั้งหมดสามทีม ทีมแรกประกอบด้วย การ์ด 2 คน, ฟอร์เวิร์ด 2 คน และ เซ็นเตอร์ 1 คนที่เก่งที่สุดในเอ็นบีเอ ส่วนทีมสองและทีมสามประกอบด้วยผู้เล่นทั้งห้าตำแหน่งนี้ที่เก่งรองลงมา ทีมออล-ดีเฟนซีฟ มีสองทีม ประกอบขึ้นจากนักบาสที่เก่งด้านเกมรับทีมละ 5 คน (โดยไม่มีการแบ่งตำแหน่งผู้เล่น) ส่วน ออล-รูกี ก็มีสองทีมเช่นเดียวกัน รวบรวมผู้เล่นหน้าใหม่ที่เก่งที่สุด 5 คน (ไม่มีการแบ่งตำแหน่งผู้เล่น)
ฤดูกาลเพลย์ออฟ[แก้]
เพลย์ออฟเริ่มต้นราวปลายเดือนเมษายน แต่ละคอนเฟอเรนซ์จะคัดทีมเข้าแข่งคอนเฟอเรนซ์ละ 8 ทีม ทีมอันดับดีที่สุดในสายทั้งสามและอีกทีมที่ได้สถิติดีที่สุดรองลงมาจะถูกวางอันดับที่ 1 ถึง 4 ตามสถิติของฤดูกาลปกติ กล่าวคือสามอันดับแรกไม่จำเป็นต้องเป็นแชมป์สายเสมอไป ส่วนทีมอันดับที่ 5 ถึง 8 ได้จากทีมที่มีสถิติดีถัดไปอีก 4 ทีม รวมเป็น 8 ทีมต่อคอนเฟอเรนซ์
ทีมที่อยู่อันดับต้น ๆ มีข้อได้เปรียบ โดยทีมอันดับแรกจะประกบกับทีมอันดับสุดท้าย ทีมอันดับสองประกบกับทีมอันดับที่เจ็ด ฯลฯ ทีมที่มีสถิติดีกว่าจะได้แข่งที่บ้านต้นเองก่อน ทีมในคอนเฟอเรนซ์จะแข่งแบบชนะ 4 ใน 7 เกม ทีมที่ชนะสี่เกมก่อนจะได้ผ่านเข้าในรอบถัดไป จนได้แชมป์คอนเฟอเรนซ์ตะวันออกและตะวันตกมาพบกันในรอบไฟนอล ทีมที่ชนะจะเป็นแชมป์เอ็นบีเอ ได้ถ้วย แลรรี โอ ไบรอัน ส่วนผู้เล่นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น โค้ช ผู้จัดการทีมทั่วไป จะได้แหวนแชมป์ ลีกยังมีรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าเอ็นบีเอรอบไฟนอลให้อีกด้วย รอบไฟนอลจะแข่งในเดือนมิถุนายน
รูปแบบการแข่งในรอบต่าง ๆ ยกเว้นรอบไฟนอลใช้สูตร 2-2-1-1-1 กล่าวคือเล่นในบ้านของทีมสถิติดีกว่าสองเกม แล้วสลับไปเล่นบ้านอีกทีมสองเกม สลับกลับมาทีมเดิมหนึ่งเกมจนกว่าได้ทีมที่ชนะ 4 ใน 7 เกม ส่วนรอบไฟนอลใช้สูตร 2-3-2
การดราฟผู้เล่น[แก้]
การดราฟเป็นการคัดเลือกผู้เล่นหน้าใหม่เพื่อเข้าเล่นในลีกเอ็นบีเอ ในปัจจุบันจะดราฟปลายเดือนมิถุนายน การดราฟจะมีทั้งหมดสองรอบ รอบละ 30 คน เท่ากับจำนวนทีมในเอ็นบีเอ ผู้เล่นที่ถูกดราฟในรอบแรกจะได้เซ็นสัญญาอย่างน้อยหนึ่งปีกับทีม ส่วนผู้เล่นที่ถูกดราฟในรอบสอง ทีมจะมีสิทธิ์ในตัวผู้เล่นสามปีแต่ไม่จำเป็นต้องเซ็นสัญญาการเล่น
ลำดับการดราฟจะดูจากสถิติของทีมในฤดูกาลที่ผ่านมา โดยทีมที่ไม่ผ่านเข้าสู่รอบเพลย์ออฟจะเข้ามาจับสลาก หรือ เรียกว่า ล็อตเตอรี่ เลือกทีมที่ได้สิทธิ์ในการดราฟสามอันดับแรก โดยทีมที่มีสถิติแย่ที่สุดจะมีโอกาสถูกเลือกได้มากกว่าทีมที่มีสถิติดีกว่า ส่วนอันดับที่ 4 ถึง 30 ในรอบแรกได้จากการเรียงเอาทีมที่เหลือจากสถิติแย่ที่สุดไปยังดีที่สุด การดราฟรอบที่สองจะเริ่มจากทีมสถิติแย่สุดไปหาดีที่สุดเสมอโดยไม่ใช้ผลจากล็อตเตอรี่
ในการเทรด หรือแลกเปลี่ยนผู้เล่นระหว่างทีม สามารถแลกสิทธิ์ในการดราฟได้ด้วย ทำให้ในการดราฟแต่ละรอบ บางทีมอาจไม่ได้ดราฟเลยเพราะแลกสิทธิ์ให้กับอีกทีมได้ดราฟมากกว่าหนึ่งครั้ง
ผู้เล่นที่เล่นจบระดับมหาวิทยาลัยแล้วมีสิทธิ์เข้าทำการดราฟโดยอัตโนมัติ ส่วนผู้เล่นที่มีอายุครบ 19 ปีในปีที่ดราฟและจบการเล่นระดับไฮสคูลอย่างน้อยหนึ่งปีสามารถลงชื่อเพื่อเข้าดราฟได้ก่อนวันดราฟจริงอย่างน้อย 60 วัน ผู้เล่นดังกล่าวสามารถถอนตัวก่อนหน้าที่จะดราฟ 10 วันและกลับไปเล่นระดับมหาวิทยาลัยได้ นอกจากว่าผู้เล่นนั้นเซ็นสัญญากับตัวแทนนักกีฬาหรือเคยถอนตัวจากการดราฟในปีก่อน